วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

5 วิธีให้คุณกลายเป็นผู้นำหญิงที่ยอดเยี่ยม

ขึ้นชื่อว่าผู้นำ ไม่ว่าจะทำในเรื่องอะไรก็ตาม ทั้งการบริหารงองค์กร การทำธุรกิจย่อมแบกภาระหนักไว้บนบ่าอย่างมากมาย กับความคาดหวังของใครหลายคน ยิ่งหากเป็น “ผู้หญิง” แล้วภาระ หน้ายิ่งหนักกว่าเข้าไปใหญ่ สิ่งหนึ่งที่ “ผู้นำ” ต้องมีคือการได้รับการยอมรับ เรามาดูกันว่าผู้นำหญิงที่ยอดเยี่ยม พวกเขามีบุคลิกอย่างไรครับ

1
.รู้จักกาลเทศะ
ไม่ว่าสไตล์หรือบุคลิกของคุณจะเป็นอย่างไร สิ่งหนึ่งที่คุณต้องรู้ นั่นคือ รู้ว่าในแต่ละช่วงเวลาควรแสดงออกแบบไหน ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นสำหรับในที่ๆคุณอยู่
2.ความโกรธไม่ทำให้คุณแข็งแกร่งขึ้น
แม้คุณจะถูกเกลียดชัง ไม่เป็นที่เคารพ หรือไม่เชื่อฟัง จากเพื่อนร่วมงาน หากคุณปล่อยให้ความโกรธมาเป็นเชื้อเพลิงจุนชนวน ยิ่งทำให้สถานการณ์ไปกันใหญ่ ความอาฆาตแค้น ไร้ปราณีจะเข้ามาอยู่ในจิตใจคุณ ซึ่งความโกรธไม่สามารถช่วยผลักดันปีญเหล่านั้นให้ออกไปได้
3.อย่านินทา
ไม่ว่าจะทำเรื่องอะไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ปราศจากการนินทนลับหลัง โดยเฉพาะในหมู่ผู้หญิง และคงไม่มีใครยินดีแน่ หากคุณนำเรื่องราวภายในทีมไปบอกกล่าวกับคนอื่นให้รับรู้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือจะไม่มีใครไว้เนื้อเชื่อใจกันอีกต่อไป คุณก็ไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้
4.ความเมตตา ไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอ
บางครั้งมีความสับสนถึงการเป็นผู้นำที่ดีควรเป็นลักษณะเช่นไร ต้องแข็งกร้าวหรืออ่อนโยน มีการตั้งคำถามว่าแบบไหนดีกว่ากัน ซึ่งผู้นำที่ดีก็ควรมีทั้งสองลักษณะอยู่ด้วยกัน บางทีความเมตตาอาจมาจากความแข็งแกร่ง เข้มแข็ง และจะช่วยให้คุณแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ลำบากง่ายยิ่งขึ้น และยิ่งคุณเป็นผู้หญิงด้วยแล้ว การแสดงออกถึงความเมตตา โอบอ้อมอารี ยิ่งอยากให้ใครต่อใครอยากร่วมงานกับคุณ
5.ความซื่อสัตย์คือสิ่งนำพาไปสู่ความสำเร็จ
“ความซื่อสัตย์” ถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้นำควรมีติดตัว เพราะหากคุณปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สุจริต ย่อมเป็นที่เชิดชู ยอมรับจากบุคคลอื่น ซึ่งจะทำให้คุณกลายเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบในที่สุด
เหล่านี้คือวิธีง่ายๆที่สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ และจะทำให้คุณกลายเป็นผู้นำหญิงที่ดีที่สุดไปโดยปริยาย

จัดนำมาโดย Biz in Thai Team
อ้างอิงข้อมูลจาก  www.bizinthai.com,www.smartsme.tv/content/63371

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

TANGRAM Game for area management

Tangram game is a 7 pieces miracle game. From the 7 pieces fixed, they can create more than thousand shapes which you can play for your brain exercise, it's create a logical thinking and creative idea. ...

The master 7 pieces as shown in color (above). From these 7 pieces, you can create more than 1000 shapes : Sample as shown below :


Can you complete these shape within the 7 master pieces? Let's play!
If you can do the above shapes then, shall we go for the next level?
Here is it:


Ready for the next?? ... Let's go


If you play each shape successfully till now, you will learn and known by yourself that is about the area management! ... try to work on the floor layout, production process management then you will find that you can do it better.

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

กรณีศึกษา คนงานมีส่วนร่วมสร้างความสำเร็จของบริษัท Trimo Trebnje

                เรื่องของแรงงานสัมพันธ์ที่ดี นอกเหนือที่นายจ้างจะต้องยอมรับเสรีภาพในการเข้าสมาคม การต่อรองของแรงงานแล้ว อีกประเด็นที่สำคัญทั้งฝ่ายเจ้าของกิจการและคนงานก็คือ การยอมรับการมีส่วนร่วมของคนงานในการบริหารจัดการในการทำงาน


กรณีศึกษา: คนงานมีส่วนร่วมสร้างความสำเร็จของบริษัท Trimo Trebnje

          ก่อนที่สโลเวเนียจะได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1991 บริษัท Trimo Trebnje เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์โลหะกันสนิมที่มีตลาดสำคัญคือยูโกสลาเวียและประเทศในโลกที่สามบางประเทศ หลังจากยูโกสลาเวียล่มสลาย สภาพการเมืองวุ่นวาย บริษัท Trimo สูญเสียส่วนแบ่งตลาดยูโกสลาฟไปเกือบหมด ต้องหันไปหาตลาดใหม่ในยุโรปตะวันตก ซึ่งการเข้าสู่ตลาดยุโรปตะวันตกนั้นจำเป็นจะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งหากจะทำได้นั้นจะต้องเปลี่ยนปรัชญาแนวคิดพื้นฐานของบริษัทเสียก่อน
        ปัจจุบันบริษัท Trimo ได้กลายเป็นบริษัทแนวหน้าของยุโรป ผลิตภัณฑ์ของบริษัทวางจำหน่ายใน 13 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยบริษัท Trimo ถือว่าประสบความสำเร็จสูงมาก

อ่านต่อ...ที่
 https://goo.gl/6BS56R

จัดทำและนำเสนอโดย Biz in Thai .com


ติดตามกันได้ที่ www.facebook.com/LeanBIZ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

COSO Enterprise Risk Management (COSO ERM)

COSO Enterprise Risk Management (COSO ERM)
การบริหารความเสี่ยง


        ความเสี่ยงคืออะไร?.. เรามักไม่เข้าใจเท่าไหร่ว่าเราจะบริหารความเสี่ยงไปทำไม
..แต่ไม่! จริงๆแล้วการบริหารความเสี่ยงมีความจำเป็นต่อทุกองค์กร (หรือจริงๆคือกับทุกบุคคล)
เพื่อการป้องกันการกลายจากความเสี่ยงเป็นปัญหาอีกทั้งบางกรณีสามารถจัดการจากความเสี่ยงเป็นโอกาส

     แล้วคุณอยากจะให้ความเสี่ยงองค์กรคุณเป็นแบบไหนล่ะ?
risk management,ความเสี่ยงบริหารความเสี่ยง

            Risk Assessment (Risk Step 2)
            Risk Control (Risk Step 3)
            Risk Awareness (Risk Step 4)

     ถ้าคุณไม่อยากจะมานั่งตามแก้ไขปัญหาทีหลังจากที่เกิดปัญหาไปแล้วคุณควรเริ่มที่การรู้จักกับความเสี่ยง
รู้ว่าอะไรเสี่ยงรู้ว่าอะไรก่อให้เกิดความเสี่ยงและรู้ว่าอะไรไม่ใช่ความเสี่ยง

ติดตามอ่านทั้งหมดได้ที่  http://www.bizinthai.com/15234368/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87-coso-erm

จัดทำโดย Biz in Thai Team

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบริหารความเสี่ยง จากตำราสู่ปฏิบัติ

การบริหารความเสี่ยง จากตำราสู่ปฏิบัติ
 

บริหารความเสี่ยงมีกี่เครื่องมือกันนะ? มาดูกันได้เลย

Slow - Right or Fast - Wrong

การเดินทางที่ถูกต้อง ไปแบบช้าๆ ตามเส้นทางอย่างถูกวิธี ... หรือ
ไปให้เร็ว แต่อาจเดินทางผิด หรือ ไปแบบไร้ทิศทาง  ... แบบไหนจะดีกว่ากัน

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ตอนนี้ทุกอย่างเร็ว รวยเร็ว เป็นเศรษฐีเพียงไม่กี่เดือน โด่งดังชั่วข้ามคืน ... หนังสือก็มาก สื่อก็หลากหลาย และโครงการมากมายก็สนับสนุก ผลักดัน และ กดดันให้เราทำทุกอย่างเร็ว ๆๆๆๆๆ

จนเราต้องการทางลัด เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น ทำทุกอย่างทุกทาง ไปให้ไว โดยไม่สนใจเส้นทาง ไม่สนใจกระบวนการ ไม่สนใจคนรอบข้าง แล้วก็มักจะเกิด กรณีได้ด้ังนี้

Case 1 ... หากเราโชคดี ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงเงินทอง อยู่บนบังลังความสำเร็จ เราก็จะมีความมั่นใจว่าสิ่งที่ทำมานั้นถูกต้อง น่าเอาแบบอย่าง และเริ่มมี ตัวตน ของตน แต่เมื่อมีคำถามถึงที่มาของความสำเร็จ ที่มาของเงินทอง ที่มาของกระบวนการที่ทำให้สำเร็จ ก็เริ่มคิดว่า "นั่นซิ ... มันมาไง" ... แต่เมื่อถามมาก็ต้องตอบไป จึงเริ่มเกิดการสร้างทฤษฏี ตามใจฉัน ... ตามสถิติ แบบนี้ มี 1 ในล้านล้าน

Case 2 ... เราไม่มีโชค และค้นพบว่า เราไม่รู้ว่าทางที่เราเดินอยู่นี้มันทิศไหน จะไปอย่างไรต่อ เราเริ่มสับสน หาทางออกไม่ได้ เราเริ่มอยากเปลี่ยนทิศทาง แต่จะเริ่มจากตรงไหน เพราะเราไม่รู้ว่าอราอยู่ตรงไหน สุดท้าย เราก็จะท้อแท้้ หมดหวัง และไร้ค่า ... ตามสถิติ แบบนี้มี ประมาณ 50%

Case 3 ... เรามีโชคบ้าง ไม่มีโชคบ้าง ทุกอย่างดูกระท่อนกระแท่น ไม่รู้จะไปต่อหรือ หยุดเปลี่ยนทิศ แต่เมื่อมาดูดีดี เราจะพบว่าเราไม่รู้ทิศทาง ไม่มีแผนการที่จะไป ... ตามสถิติ แบบนี้มี ประมาณ 50%

รีบร้อน , รวดเร็ว , เร่งเร้า ดูเหมือนจะดี เป็นที่นิยม ใครๆ ขอก็ทำกันในยุคนี้

ใจเย็นลงนิดนึงดีไหมคะ ทำให้ไว ไปให้ถึงฝันกันดีกว่าค่ะ

... ไวไว กับเร็วๆ ต่างกันตรงไหน ต่างกันตรงที่  เร็วๆ เราทำแบบเร่งรีบไม่มีแผน แต่

ไวไว เราทำตามแผนที่วางไว้ ไปทิศไหนเรารู้ ถึงตรงไหนเรารู้ จะไปอย่างไรต่อเรารู้ ผิดพลาดอย่างไร เรารู้ ทำสำเร็จอย่างไร เรารู้ ... เมื่อเรารู้ ตัวตนและทิศทางของเรา จะทำให้เราไม่ผิดพลาดเหรอ ... ไม่ใช่ ... แต่จะทำให้เราเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดนั้นได้ และเราปรับปรุงได้ เราไม่ได้เริ่มจากการทำสิ่งที่ถูกทุกอย่าง แต่เริ่มจากการทำผิดเสียเป็นส่วนใหญ่ แล้วจึงปรับให้ค่อยๆ ถูก ... และสิ่งเหล่านี้ใช้เวลา ดังนั้นเมื่อวันที่เราประสบความสำเร็จ มันจึงน่าพอใจ น่าภูมิใจ และเราสามารถถ่ายทอดได้อย่างเป็นระบบ เพราะทุกอย่างมาแบบมีแผนที่ชัดเจน หลงตรงไหน หลุดตรงไหน เรารู้และรู้ว่าทำไม และแก้อย่างไร ... เมื่อเราถ่ายทอดได้ เราย่อมต่อยอดได้ ดังนั้น ความสำเร็จของเราจะพัฒนาต่อเนื่องได้ และสำคัญมากคือ เราจะไม่หลงตัวเอง ไม่ได้คิดว่าเราแน่ ไม่ได้กร่าง ความสำเร็จที่มาจากความเพียรพยายาม บากบั่น ทำให้เรานอบน้อม เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เราจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จทั้งทางกายและทางใจ เพราะเวลาแห่งความยากลำบากสอนให้เรามีทั้งทักษะทางกายที่ยอดเยี่ยม และมีจิตใจที่เข้มแข็ง+อ่อนโยน ในเวลาเดียวกัน ... และตามสถิติ การช้าแบบถูกต้องประสบความสำเร็จถึงร้อยละ 80

เราคงต้องเลือก ว่าเราอยากเป็นแบบไหน ไวไว หรือ เร็วๆ

"It's better to go SLOW in the RIGHT direction than go FAST in the WRONG direction"
                                                                                                                             by Simon Sinek

www.bizinthai.com ... บทความดีๆ มีให้อ่านและแสดงความคิดเห็นร่วมกันค่ะ

คำว่า Lean เกิดขึ้นเมื่อไหร่?

  
        คำว่า Lean เกิดขึ้นในยุค?

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Lean Book ... ตำราระบบลีน

Lean Book หนังสือออนไลน์ที่จะรวบรวมทฤษฏีที่ผ่านการประยุกต์ใช้ เห็นผลแล้วนำมาเขียนบอกเล่ากันเรียน ... เรียนจริง ทำจริง เจ็บจริง สำเร็จจริง ... มาดูไปทีละภาพ ... วันละน้อยๆ ต่อเนื่อง ยั่งยืน

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Lean คือ?

#Lean คือ?
            ระบบลีน คือปรัชญาในการบริหารกิจการองค์กร และธุรกิจเพื่อการดำเนินการอย่าง กระชับ ฉับไว คล่องตัว ต้นทุนต่ำ ตอบ 2 โจทย์หลัก คือ ลดต้นทุน และเพิ่มความพึงพอใจ ในทุกแง่มุม

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

Lean Thinking ระบบลีนมีกี่แนวคิด ???

Lean is Philosophy for Organisation Management หมายความว่า....
                                                                         
"ลีนเป็นปรัชญาการบริหารองค์กร"

                   แปลอีกทีคือ เมื่อเป็นปรัชญา ก็ย่อมตีความ ประยุกต์ และสร้างระบบความคิดได้ไม่รู้จบ ขึ้นกับว่าไปใช้ในงานใด 

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

ลีนแม่บ้าน

Lean Housework              ระบบลีนฉบับแม่บ้าน

                 ระบบลีนเพื่อคุณแม่บ้าน (ทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน) ได้ทำระบบลีนแบบง่ายๆ ตรงประเด็น ประเภท HOW TO ไม่มีทฤษฎีมากมาย (แต่จริงๆ ก็ประยุกต์มาจากทฤษฎีล่ะนะ)  ผู้เขียน เขียนจากประสบการณ์การประยุกต์ระบบลีนทำเองที่บ้านและที่ทำงาน ดังนั้น ทำจริงเห็นผลจริง เมื่อท่านอ่านแล้วจะนำใช้ท่านก็ควรประยุกต์ให้เหมาะกับตัวท่าน วิถีของท่านเอง ประสบการณ์ใครก็เป็นเงื่อนเวลา เงื่อนปัจจัยของคนๆ นั้น ไม่อาจเหมือนกันโดย 100 % ได้ ดังนั้นประยุกต์ให้เหมาะและจะเห็นผลที่ชัดเจน  ได้ประโยชน์อย่างเต็มกำลังที่ท่านสามารถทำได้

Logical Game