วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

COSO Enterprise Risk Management (COSO ERM)

COSO Enterprise Risk Management (COSO ERM)
การบริหารความเสี่ยง


        ความเสี่ยงคืออะไร?.. เรามักไม่เข้าใจเท่าไหร่ว่าเราจะบริหารความเสี่ยงไปทำไม
..แต่ไม่! จริงๆแล้วการบริหารความเสี่ยงมีความจำเป็นต่อทุกองค์กร (หรือจริงๆคือกับทุกบุคคล)
เพื่อการป้องกันการกลายจากความเสี่ยงเป็นปัญหาอีกทั้งบางกรณีสามารถจัดการจากความเสี่ยงเป็นโอกาส

     แล้วคุณอยากจะให้ความเสี่ยงองค์กรคุณเป็นแบบไหนล่ะ?
risk management,ความเสี่ยงบริหารความเสี่ยง

            Risk Assessment (Risk Step 2)
            Risk Control (Risk Step 3)
            Risk Awareness (Risk Step 4)

     ถ้าคุณไม่อยากจะมานั่งตามแก้ไขปัญหาทีหลังจากที่เกิดปัญหาไปแล้วคุณควรเริ่มที่การรู้จักกับความเสี่ยง
รู้ว่าอะไรเสี่ยงรู้ว่าอะไรก่อให้เกิดความเสี่ยงและรู้ว่าอะไรไม่ใช่ความเสี่ยง

ติดตามอ่านทั้งหมดได้ที่  http://www.bizinthai.com/15234368/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87-coso-erm

จัดทำโดย Biz in Thai Team

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบริหารความเสี่ยง จากตำราสู่ปฏิบัติ

การบริหารความเสี่ยง จากตำราสู่ปฏิบัติ
 

บริหารความเสี่ยงมีกี่เครื่องมือกันนะ? มาดูกันได้เลย

Slow - Right or Fast - Wrong

การเดินทางที่ถูกต้อง ไปแบบช้าๆ ตามเส้นทางอย่างถูกวิธี ... หรือ
ไปให้เร็ว แต่อาจเดินทางผิด หรือ ไปแบบไร้ทิศทาง  ... แบบไหนจะดีกว่ากัน

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ตอนนี้ทุกอย่างเร็ว รวยเร็ว เป็นเศรษฐีเพียงไม่กี่เดือน โด่งดังชั่วข้ามคืน ... หนังสือก็มาก สื่อก็หลากหลาย และโครงการมากมายก็สนับสนุก ผลักดัน และ กดดันให้เราทำทุกอย่างเร็ว ๆๆๆๆๆ

จนเราต้องการทางลัด เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น ทำทุกอย่างทุกทาง ไปให้ไว โดยไม่สนใจเส้นทาง ไม่สนใจกระบวนการ ไม่สนใจคนรอบข้าง แล้วก็มักจะเกิด กรณีได้ด้ังนี้

Case 1 ... หากเราโชคดี ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงเงินทอง อยู่บนบังลังความสำเร็จ เราก็จะมีความมั่นใจว่าสิ่งที่ทำมานั้นถูกต้อง น่าเอาแบบอย่าง และเริ่มมี ตัวตน ของตน แต่เมื่อมีคำถามถึงที่มาของความสำเร็จ ที่มาของเงินทอง ที่มาของกระบวนการที่ทำให้สำเร็จ ก็เริ่มคิดว่า "นั่นซิ ... มันมาไง" ... แต่เมื่อถามมาก็ต้องตอบไป จึงเริ่มเกิดการสร้างทฤษฏี ตามใจฉัน ... ตามสถิติ แบบนี้ มี 1 ในล้านล้าน

Case 2 ... เราไม่มีโชค และค้นพบว่า เราไม่รู้ว่าทางที่เราเดินอยู่นี้มันทิศไหน จะไปอย่างไรต่อ เราเริ่มสับสน หาทางออกไม่ได้ เราเริ่มอยากเปลี่ยนทิศทาง แต่จะเริ่มจากตรงไหน เพราะเราไม่รู้ว่าอราอยู่ตรงไหน สุดท้าย เราก็จะท้อแท้้ หมดหวัง และไร้ค่า ... ตามสถิติ แบบนี้มี ประมาณ 50%

Case 3 ... เรามีโชคบ้าง ไม่มีโชคบ้าง ทุกอย่างดูกระท่อนกระแท่น ไม่รู้จะไปต่อหรือ หยุดเปลี่ยนทิศ แต่เมื่อมาดูดีดี เราจะพบว่าเราไม่รู้ทิศทาง ไม่มีแผนการที่จะไป ... ตามสถิติ แบบนี้มี ประมาณ 50%

รีบร้อน , รวดเร็ว , เร่งเร้า ดูเหมือนจะดี เป็นที่นิยม ใครๆ ขอก็ทำกันในยุคนี้

ใจเย็นลงนิดนึงดีไหมคะ ทำให้ไว ไปให้ถึงฝันกันดีกว่าค่ะ

... ไวไว กับเร็วๆ ต่างกันตรงไหน ต่างกันตรงที่  เร็วๆ เราทำแบบเร่งรีบไม่มีแผน แต่

ไวไว เราทำตามแผนที่วางไว้ ไปทิศไหนเรารู้ ถึงตรงไหนเรารู้ จะไปอย่างไรต่อเรารู้ ผิดพลาดอย่างไร เรารู้ ทำสำเร็จอย่างไร เรารู้ ... เมื่อเรารู้ ตัวตนและทิศทางของเรา จะทำให้เราไม่ผิดพลาดเหรอ ... ไม่ใช่ ... แต่จะทำให้เราเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดนั้นได้ และเราปรับปรุงได้ เราไม่ได้เริ่มจากการทำสิ่งที่ถูกทุกอย่าง แต่เริ่มจากการทำผิดเสียเป็นส่วนใหญ่ แล้วจึงปรับให้ค่อยๆ ถูก ... และสิ่งเหล่านี้ใช้เวลา ดังนั้นเมื่อวันที่เราประสบความสำเร็จ มันจึงน่าพอใจ น่าภูมิใจ และเราสามารถถ่ายทอดได้อย่างเป็นระบบ เพราะทุกอย่างมาแบบมีแผนที่ชัดเจน หลงตรงไหน หลุดตรงไหน เรารู้และรู้ว่าทำไม และแก้อย่างไร ... เมื่อเราถ่ายทอดได้ เราย่อมต่อยอดได้ ดังนั้น ความสำเร็จของเราจะพัฒนาต่อเนื่องได้ และสำคัญมากคือ เราจะไม่หลงตัวเอง ไม่ได้คิดว่าเราแน่ ไม่ได้กร่าง ความสำเร็จที่มาจากความเพียรพยายาม บากบั่น ทำให้เรานอบน้อม เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เราจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จทั้งทางกายและทางใจ เพราะเวลาแห่งความยากลำบากสอนให้เรามีทั้งทักษะทางกายที่ยอดเยี่ยม และมีจิตใจที่เข้มแข็ง+อ่อนโยน ในเวลาเดียวกัน ... และตามสถิติ การช้าแบบถูกต้องประสบความสำเร็จถึงร้อยละ 80

เราคงต้องเลือก ว่าเราอยากเป็นแบบไหน ไวไว หรือ เร็วๆ

"It's better to go SLOW in the RIGHT direction than go FAST in the WRONG direction"
                                                                                                                             by Simon Sinek

www.bizinthai.com ... บทความดีๆ มีให้อ่านและแสดงความคิดเห็นร่วมกันค่ะ

คำว่า Lean เกิดขึ้นเมื่อไหร่?

  
        คำว่า Lean เกิดขึ้นในยุค?

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Lean Book ... ตำราระบบลีน

Lean Book หนังสือออนไลน์ที่จะรวบรวมทฤษฏีที่ผ่านการประยุกต์ใช้ เห็นผลแล้วนำมาเขียนบอกเล่ากันเรียน ... เรียนจริง ทำจริง เจ็บจริง สำเร็จจริง ... มาดูไปทีละภาพ ... วันละน้อยๆ ต่อเนื่อง ยั่งยืน

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Lean คือ?

#Lean คือ?
            ระบบลีน คือปรัชญาในการบริหารกิจการองค์กร และธุรกิจเพื่อการดำเนินการอย่าง กระชับ ฉับไว คล่องตัว ต้นทุนต่ำ ตอบ 2 โจทย์หลัก คือ ลดต้นทุน และเพิ่มความพึงพอใจ ในทุกแง่มุม

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560